Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

เอกสารอ้างอิง

1. Hedge IC, Lamond JM. Umbelliferae. Flora of Thailand. 1992, 5(4):442-8.
2. Backer CA, Bakhuizen van den Brick RC. Acanthaceae. Flora of Java. 1965, 2:171-3.
3. Buwalda P. Umbelliferae. Flora of Malesiana. 1949, 4(2):116-7.
4. Townsend CC. Umbelliferae. Flora of Tropical East Africa. AA Balkema 1989, p. 15-7.
5. Vogel HG, De Souza N, D’Sa A. Effects of triterpenoids isolated from Centella asiatica on granuloma tissue. Acta Therapeutica. 1990, 16:285-98.
6. Chatterjee TK, Chakraborty A, Pathak M. Effects of plant extract Centella asiatica (Linn.) on cold restraint stress ulcer in rats. Ind J Exp Biol. 1992, 30:889-91.
7. Shukla A, Rasik AM, Dhawan BN. Asiaticoside-induced elevation of antioxidant levels in healing wounds. Phytother Res. 1999, 13(1):50-4.
8. Babu TD, Kuttan G, Padikkala J. Cytotoxic and anti-tumor properties of certain taxa of Umbelliferae with special reference to Centella asiatica (L.) Urban. J Ethnopharmacol. 1995, 48(1):53-7.
9. Grimaldi R, De Ponti F, D’Angelo L, Caravaggi M, Guidi G, et al. Phramacokinetics of the total triterpenic fraction of Centella asiatica after single and multiple administrations to healthy volunteers. A new assay for asiatic acid. J Ethnopharmacol. 1990, 28(2):235-41.
10. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ปราณี ชวลิตธำรง, เอมนัส อัตตวิชญ์, ธิดารัตน์ บุญรอด, จารีย์ บันสิทธิ์ และคณะ. การศึกษาความเป็นพิษของสมุนไพรบัวบก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547, 2(3):3-14.
11. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สมุนไพรน่ารู้ (3): บัวบก. พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, นนทบุรี. 2550.
12. http://www.skr.ac.th/Work_M5/food_health/kro/kumloon.htm
13. http://www.spo.moph.go.th/dherb/sara/numsamunpri/buabok.htm
14. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/medplantdatabase/dtl_herbal.asp

น้ำใบบัวบก2

การใช้ประโยชน์อื่นๆ
บัวบกสามารถนำมารับประทานเป็นผักแกล้ม นำมาปรุงอาหาร หรือนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้
ใบบัวบกมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยส่วนที่รับประทานได้น้ำหนักสด 100 กรัม มีคุณค่าทางอาหารดังนี้
       น้ำ 88 กรัม
       โปรตีน 2 กรัม
       ไขมัน 0.2 กรัม
       คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
       กากและเส้นใย 1.6 กรัม
       แคลเซียม 170 มิลลิกรัม
       โปแตสเซียม 32 มิลลิกรัม
       เหล็ก 6 มิลลิกรัม
       โปรวิตามินเอ 4.5 มิลลิกรัม
       วิตามินซี 49 มิลลิกรัม
น้ำใบบัวบก
ส่วนผสม
   – ใบบัวบก 10 กรัม (หั่น 5 ช้อนคาว )
   – น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 2 ช้อนคาว )
   – น้ำเปล่าต้มสุก 240 กรัม ( 16 ช้อน )
วิธีทำ
   – นำใบบัวบกล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำครึ่งส่วน ปั่นให้ละเอียด
   – กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำที่เหลือ คั้นน้ำให้แห้ง
   – นำน้ำที่ใด้ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
ยำใบบัวบก

ยำใบบัวบก
เครื่องปรุง
   – ใบบัวบกล้างหั่นฝอย 1 1/2 ถ้วย
   – เนื้อกุ้งนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย
   – ถั่วลิสงคั่วโขลกพอแตก 2 ช้อนโต๊ะ
   – หอมแดงเจียว 2 ช้อนโต๊ะ
   – เนื้อหมูนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย
   – มะพร้าวขูดคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
   – พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ดเล็ก
น้ำปรุงน้ำยำ
   – พริกแห้งเผาหรือคั่วโขลกละเอียด2 ช้อนชา
   – กระเทียมเผาหรือคั่วโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
   – น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
   – น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ
   – น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
   – ผสมหมู กุ้ง กับน้ำยำเข้าด้วยกัน ใส่ใบบัวบกเคล้าเบาๆ
   – ใส่ถั่วลืสงเคล้าพอเข้ากัน ตักใส่จาน
   – โรยด้วยพริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย หอมเจียว

ยำใบบัวบก2

ใบบัวบก4

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้บัวบก ได้แก่ การเกิด allergic contact dermatitis จากการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากบัวบก แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากองค์ประกอบอื่นในครีม แต่ก็พบว่าสาร triterpene จากบัวบกมี sensitizing effect ในสัตว์ทดลอง จากการศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของบัวบก (Chivapat และคณะ, 2547) พบว่าขนาดของผงบัวบกที่ทำให้หนูถีบจักรตาย 50% (LD50) มีค่ามากกว่า 8 กรัม/กก. โดยไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่ออวัยวะภายใน และเมื่อให้ผงบัวบกที่ขนาด 20, 200, 600 และ 1,200 มก./กก./วัน แก่หนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์โดยการกรอก (gastric intubation) ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าผงบัวบกไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กิน และสุขภาพทั่วไปของหนูขาว ค่าโลหิตวิทยาเกือบทั้งหมดของหนูขาวที่ได้รับบัวบกไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ยกเว้นหนูเพศผู้ที่ได้รับบัวบกขนาด 600 และ 1,200 มก./กก./วัน จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามจำนวนเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นหลังจากหยุดให้บัวบก 2 สัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานข้อมูลจาก Clinical cases studies (Jorge, 2005) พบว่าผู้ป่วยหญิง 3 ราย อายุ 61, 52 และ 49 ปี เกิดภาวะ jaundice หลังจากรับประทานบัวบกเป็นเวลา 30, 20 และ 60 วันตามลำดับ มีค่า ALT 1193, 1694 และ 324 U/l ค่า ALP 503, 472 และ 484 U/l ค่า billirubin 4.23, 19.89 และ 3.6 mg/dl แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายแรกมีพยาธิสภาพของ granulomatous hepatitis ร่วมกับ necrosis และ apoptosis, รายที่สอง chronic hepatitis ร่วมกับ cirrhotic transformation และ intense necroinflammatory activity และรายที่สาม granulomatous hepatitis ผู้ป่วยทั้ง 3 รายมีอาการดีขึ้นเมื่อหยุดรับประทานบัวบกพร้อมๆ กับได้รับ ursodeoxycholic acid ขนาด 10 มก./กก./วัน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น anti-apoptotic ผู้ป่วยรายแรกได้กลับมารับประทานบัวบกอีกครั้งและพบว่ามีการถูกทำลายของตับเกิดขึ้นอีก ผู้วิจัยได้ให้ความเห็นว่าพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นอาจเนื่องจากบัวบกทำให้เกิด cell apoptosis และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ cell membranes อย่างไรก็ตามอาจมีกลไกอื่นร่วมด้วย เช่น immune-mediated mechanism
จากรายงานข้างต้นแม้ว่าจะไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงที่เกิดจากการใช้บัวบก ผู้บริโภคก็ควรที่จะระมัดระวังในการใช้บัวบกและผลิตภัณฑ์จากบัวบก ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น และควรมีการตรวจเลือดทางโลหิตวิทยาเป็นระยะ

การใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ
บัวบกมีข้อบ่งใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณค่อนข้างกว้างขวาง ในตำราแพทย์อายุรเวทของอินเดียมีการใช้บัวบกในการรักษาอาการท้องร่วง อาหารไม่ย่อย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หอบหืด และใช้เป็นตัวยาในตำหรับยารักษาโรคเรื้อน ในอินโดนีเซียใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารและตับอักเสบ ตำราแพทย์พื้นบ้านของจีนใช้บัวบกเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพกายและสุขภาพจิต ในประเทศไทยใช้บัวบกเป็นยาบำรุง รักษท้องร่วง
การใช้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
ข้อบ่งใช้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันที่มีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกมาสนับสนุน ได้แก่ ใช้สมานแผล การใช้สำหรับรักษาโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดดำ (venous diseases), รอยแผลแตกลาย, cellulites, poorly healing skin lesion, leprous skin lesions และใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากความเครียด
ใบบัวบก1

ดอกบัวบก1

 

 

 

 

 

 

 

 

Grinaldi และคณะ (1990) ได้ทำการศึกษาแบบ randomized crossover design ในอาสาสมัครปกติกลุ่มละ 12 คน โดยให้รับประทาน Total triterpenic fraction ของบัวบก ขนาด 30 และ 60 มก. ครั้งเดียว หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ ให้รับประทานวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 7 วัน จากการวัดระดับ asiatic acid ในพลาสม่า พบว่าขนาดและวิธีการในการให้ยาไม่มีผลต่อระยะเวลาที่ asiatic acid ขึ้นถึงระดับสูงสุดในเลือด แต่ระดับสูงสุดในเลือดและ AUC ของระดับ asiatic acid ในพลาสม่าจากที่เริ่มรับประทานจนถึง 24 ชั่วโมง (AUC 0-24) หลังรับประทานยาขนาด 30 และ 60 มก. ครั้งเดียว มีความสัมพันธ์กับขนาดของยาที่ได้รับและกรณีที่ได้รับยาทั้ง 2 ขนาดติดต่อกัน 7 วัน ระดับสูงสุดในเลือด, AUC 0-24 และค่าครึ่งชีวิต (half life) ของ asiatic acid จะมีค่ามากกว่าการรับประทานยาขนาดเดียวกันครั้งเดียว ทั้งนี้อาจเกิดจาก metabolic interaction ระหว่าง asiatic acid และ asiaticoside ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็น asiatic acid ในร่างกาย
สำหรับการศึกษาทางคลินิกจะมีทั้งการใช้บัวบกในรูปของ undefined extract และ defined preparations รูปแบบยาเตรียมบัวบกที่ใช้ใน conventional medicine มีทั้งที่เป็นยากิน ยาใช้ภายนอก และยาฉีด และมีการใช้ในรูปแบบของ Homeopathic Centella asiatica preparation ด้วย

น้ำใบบัวบก

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของบัวบกมีทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ได้แก่ ฤทธิ์ในการสมานแผล, ป้องกันการเกิดแผลเปื่อย, ปกป้องเซลล์ประสาทจากการถูกทำลาย, ฤทธิ์ต่อจิตประสาท, ต้านอนุมูลอิสระ, กระตุ้นภูมิคุ้มกัน, ต้านเซลล์มะเร็ง, ต้านเชื้อไวรัส เป็นต้น
ฤทธิ์ในการสมานแผล (Wound healing effect)
สารสกัดบัวบกมีรายงานการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองว่า ช่วยเร่งการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น โดยมีผลเพิ่มการสังเคราะห์ collagen, เพิ่มปริมาณ fibronectin ภายในเซลล์, เพิ่ม mitotic activity ของ germ layer และเพิ่มขนาดของ keratohyaline granules ของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดแผล และผลที่ได้ขึ้นกับปริมาณสารที่ได้รับปัจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบัวบกทั้งที่ใช้รับประทาน และใช้เป็นยาภายนอกสำหรับใช้ในการรักษาบาดแผล

ฤทธิ์ในการรักษาและป้องกันการเกิดแผลเปื่อย (Anti-ulcer and ulcer protective effect)
จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า asiaticoside และสารสกัดบัวบกมีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาแผลเปื่อยในทางเดินอาหารซึ่งมีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ในการสมานแผล ลดการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และการกระตุ้น mucosal defensive factors ต่างๆ

ฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาท (Neuroprotective effect)
จากรายงานการศึกษาพบว่า สารสกัดบัวบกสามารถช่วยป้องกันเซลล์ประสาทจากการถูกทำลายด้วยสาร glutamate, กระตุ้นให้เกิด regeneration ของเซลล์ประสาทและช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำของสัตว์ทดลอง โดยพบว่าฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาท เสริมสร้างการเรียนรู้และความจำจะเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีสาเหตุของโรคอย่างหนึ่งมาจากภาวะ oxidative stress นอกจากนี้ได้มีการจดสิทธิบัตรของสาร asiatic acid สำหรับรักษาโรคสมองเสื่อม (dementia) และเพิ่มการเรียนรู้ โดย Hoechst Aktiengesellschaft (EP 0 383 171 A2)

ฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-neurological effect)
จากการศึกษาในหนูขาว พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์ของบัวบกทำให้ระดับ GABA ซึ่งเป็น inhibitory transmitter ใน central nervous system เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นของ GABA จะแปรตามขนาดของสารสกัดที่สัตว์ทดลองได้รับ นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยที่สนับสนุนว่าบัวบกมีฤทธิ์เป็น anxiolytic, sedative, antidepressive, anticonvulsive และ analgesic substance รวมทั้งเสริมฤทธิ์และเพิ่ม safety margin ของยากันชักบางตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity)
จากการศึกษาผลของ asiaticoside ต่อปริมาณสารต้านออกซิเดชั่นในบาดแผล excision-type cutaneous wounds ของหนูขาว พบว่าการทา asiaticoside 0.2% ที่บริเวณบาดแผล วันละ 2 ครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของทั้ง enzyme และ non-enzymatic antioxidants ในเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase, vitamin E และ ascorbic acid และยังทำให้ระดับของ lipid peroxide ลดลง อย่างไรก็ตาม การทา asiaticoside ต่อไปอีกจนครบ 14 วันไม่พบความแตกต่างของปริมาณ antioxidant เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งการที่ปริมาณ antioxidant เพิ่มขึ้นในระยะเริ่มต้นของการสมานแผลนี้ อาจเป็นกลไกอันหนึงที่เดี่ยวข้องกับฤทธิ์ในการสมานแผลของ asiaticoside

ฤทธิ์กระตุ้นหรือเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunomodulatory effect)
จากรายงานการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิของสารสกัดน้ำ หรือสารสกัดแอลกออล์ของบัวบกใน reticuloendothelial system (RES) ของหนูถีบจักร และใน human complement system พบว่าหลังจากฉีดสารสกัดแอลกอฮอล์เข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักรเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จะกระตุ้น RES และมีรายงานการศึกษาในหลอดทดลองว่าสารสกัดน้ำก็สามารถกระตุ้นการทำงานของ human complement system ทั้งในส่วนที่เป็น classical และ alternative pathway

ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง (Anticancer)
มีรายงานการวิจัยว่าสารสกัดหยาบของบัวบก (CE) และสารสกัดหยาบที่ผ่านกระบวนการทาง chromatography เพื่อทำให้บริสุทธิ์ขึ้นเป็น partial purified fraction (AF) แสดงฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง โดย AF จะแสดงฤทธิ์ยับยั้ง proliferation ของ transformed cell lines ได้ดีกว่า CE และการออกฤทธิ์จะแปรตามขนาดของสารที่ใช้ จากการทดลองกับ Ehric ascites tumor cells (EAC) และ Dalton’s lymphoma ascites tumor cells (DLA) พบว่า EC50 ของ AF มีค่า 17 และ 22 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ โดยที่ AF ไม่มีพิษต่อ normal human lymphocytes และยังพบว่า AF ที่ขนาด 8 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์กดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ mouse lung fibroblast (L-929) ใน long term culture

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และไวรัส
มีรายงานการวิจัยว่าสารสกัดบัวบกมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส โยการทดสอบด้วยวิธี agar dilution test กับเชื้อ 7 ชนิด พบว่า asiaticoside ขนาด 10 มก./มล. สามารถต้านเชื้อ Pseudomonas pycyaneus และ Trichoderma mentagrophytes โดยมีค่า MIC 1,000 ไมโครกรัม/มล. แต่ไม่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus areus, E. coli, Candida albicans หรือ Aspergillus niger

องค์ประกอบทางเคมีของบัวบกประกอบไปด้วยสารหลายกลุ่ม ที่สำคัญคือ Triterpenoid saponins และ Aglycones
     (1) Triterpenoid saponins: asiaticoside, oxyasiaticoside, madecassoside,   brahmoside, isobrahmoside, brahminoside, centelloside, indocentelloside, thankuniside, isothankuniside
     (2) Aglycones: asiatic acid, isobrahmic acid, betulic acid, centic acid, centellic acid, centoic acid, hydrocotylegenin A-E, indocentoic acid, madasiatic acid, madecassic acid, thankunic acid, isothankunic acid, ursenoic acid
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารกลุ่มอื่น ได้แก่ amino acids, flavonoids, alkaloids, volatile oils
asiatic acid
asiaticoside

บัวบก: การปลูก

ใบบัวบก5

บัวบัวบกขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด และใช้ลำต้นหรือที่เรียกว่า “ไหล” ซึ่งการขยายพันธุ์โดยใช้ไหลนั้นเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้เมล็ด โดยให้เตรียมท่อนพันธุ์ให้มีข้ออย่างน้อย 1 ข้อ ควรเลือกข้อที่มียอดอ่อนและมีรากที่เริ่มงอกออกมาด้วย จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตต่อไปได้เร็วขึ้น จากนั้นนำไปเพาะชำในภาชนะปลูกที่มีความชื้นเหมาะสม ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็จะสามารถย้ายต้นกล้าได้ บัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้งในที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นในดินพอเหมาะ ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตราประมาณ 1.5 กก./ตารางเมตร
บัวบกเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน การเก็บเกี่ยวนั้นอาจเก็บทั้งต้นหรือเก็บเฉพาะใบ ควรเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อพืชมีอายุการปลูกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่บางรายงานระบุว่าเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุปลูก 60-90 วัน สามารถเก็บเกี่ยวในรอบต่อไปได้ทุกๆ 2-3 เดือน หากมีการบำรุงดูแลที่เหมาะสม จะให้ผลผลิตได้นานถึง 2-3 ปี โรคแมลงที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากจะทำความเสียหายทั่วแปลง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังมีสีน้ำตาลอมเทา

ใบบัวบก3

บัวบกเป็นพืชที่พบได้ทั่วโลกในประเทศเขตร้อนถึงเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centella asiatica (L.) Urban บัวบกเป็นพืชล้มลุกประเภทข้ามปี ลำต้นสั้น มีไหลหรือส่วนของลำต้นที่แตกแขนงทอดไปตามดินแล้วออกราก ใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไตหรือค่อนข้างกลม ขอบหยักมนหรือหยักแหลม ช่อดอกเล็ก ดอกขนาดเล็กมากมี 2-3 ดอก กลีบสีม่วงแดง ออกตามง่ามใบหรือซอกใบ ผลแบน มีขนาดเล็ก
บัวบกมีการจัดลำดับชั้นในการจัดหมวดหมู่จำแนกพืชดังนี้
Kingdom: Plantae
   Subkingdom: Tracheobionta
      Superdivision: Spermatophyta
         Class: Magnoliopsida
            Subclass: Rosidae
               Order: Apiales
                  Family: Apiaceae/Umbelliferae
                     Genus: Centella L.
                         Species: Centella asiatica (L.) Urban

การกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบกนั้นมีรายงานการกำหนดชื่อครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1753 โดย Carl von Linnaeus ได้กำหนดชื่อภายใต้สกุล Hydrocotyle L. คือชนิด Hydrocotyle asiatica L. พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ Species Plantarum ฉบับที่ 1 ต่อมาในปี ค.ศ. 1763 Linnaeus ได้พิจารณาแยกกลุ่มพืชที่มีลักษณะแตกต่างแต่ใกล้เคียงกันภายใยสกุล Hydrocotyle L. ออกจากกัน และกำหนดชื่อสกุลขึ้นใหม่คือ Centella L. เผยแพร่ในหนังสือ Species Plantarum ฉบับที่ 2 และเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปี ค.ศ. 1879 Ignatz Urban ได้ทำการทบทวนการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก แล้วยืนยันการระบุชนิด คือ Centella asiatica (L.) Urban พิมพ์เผยแพร่ชื่อเป็นครั้งแรกในหนังสือ Flora Brasilensis ฉบับที่ 11ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นชื่อที่ถูกต้องตามหลักสากลของการให้ชื่อพืชในปัจจุบัน